หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาตจวิทยา
เกี่ยวกับหลักสูตร

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ มีจุดเด่นในด้านสมรรถนะดิจิตัลและการใช้เทคโนโลยีดิจิตัลในการพัฒนาการวินิจฉัยและรักษาโรคผิวหนัง สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิตัลในการเชื่อมต่อทางไกลกับผู้ป่วย ครอบครัวและชุมชน มีความรู้และทักษะด้านผิวหนัง ให้การรักษาได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ เป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชนและคำนึงถึงผู้ป่วยและประชาชนเป็นศูนย์กลางสามารถเรียนรู้พัฒนาตนเองด้านการดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่องด้วยการใช้เวชศาสตร์เชิงประจักษ์ และมีศักยภาพในการสร้างงานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อแก้ไขปัญหาสาธารณสุขด้านโรคผิวหนัง และพัฒนาสุขภาพของประชาชน หลักสูตรยังส่งเสริมการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น การฝึกปฏิบัติด้านผิวหนังในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยอื่นๆ และการเข้าร่วมฟังบรรยายและฝึกปฏิบัติทางคลินิกหรือวิจัยในสถาบันชั้นนำในต่างประเทศ
หลักสูตรและการศึกษา
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาตจวิทยา
ภาษาอังกฤษ Master of Science Program in Dermatology
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ตจวิทยา)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) Master of Science (Dermatology)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) วท.ม. (ตจวิทยา)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) M.Sc. (Dermatology)
ระยะเวลา
ระยะเวลา 2 ปี
บทบาทและหน้าที่
– ประกอบวิชาชีพตามสาขาภายใต้ใบประกอบวิชาชีพเวชกรรมของตนเอง ในสถานประกอบการของรัฐหรือเอกชน
– นักวิจัยหรือนักพัฒนานวัตกรรมด้านผิวหนังในองค์กรภาครัฐหรือเอกชน
– อาจารย์ในสถาบันการศึกษาของรัฐหรือเอกชน
– ศึกษาต่อระดับสูงในมหาวิทยาลัยทั้งในและต่างประเทศ
– ประกอบอาชีพอิสระ เช่น นักวิชาการหรือที่ปรึกษาด้านผิวหนัง ภาคประชาชน
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
มุ่งเน้นผลิตบุคคลากรที่จะมาสร้างสรรค์งานวิจัยและนวัตกรรม ให้บริการสุขภาพด้านผิวหนังโดยคำนึงถึงผู้ป่วยและประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต มีสมรรถนะดิจิตัลและสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิตัลได้อย่างเหมาะสม เพื่อแก้ไขปัญหาสาธารณสุขด้านผิวหนัง และพัฒนาสุขภาพของประชาชน ด้วยความเป็นเลิศเพื่อทุกชีวิต
ปรัชญาของหลักสูตร
“น้อมนำพระปณิธาน สร้างสรรค์งานวิจัยและนวัตกรรม ให้บริการสุขภาพด้านผิวหนังโดยคำนึงถึงผู้ป่วยและประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต มีสมรรถนะดิจิตัลและสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิตัลได้อย่างเหมาะสม เพื่อแก้ไขปัญหาสาธารณสุขด้านผิวหนัง และพัฒนาสุขภาพของประชาชน ด้วยความเป็นเลิศเพื่อทุกชีวิต”
ประกาศ เรื่อง ปฏิทินการศึกษาระดับชั้นบัณฑิตศึกษา ประจำปีการศึกษา 2568 Click
รายละเอียดของหลักสูตร (มคอ.2) Click
ระยะเวลา 2 ปี
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 39 หน่วยกิต
รหัสรายวิชา | ชื่อรายวิชา | จำนวนหน่วยกิต (ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ค้นคว้า) |
พศตจ 5001
PSDM5001 |
หลักการวิจัยทางการแพทย์และจริยธรรมการวิจัย
Principles of Medical Research and Research Ethics |
2 (2-0-4) |
พศตจ 5002
PSDM5002 |
เวชศาสตร์เชิงประจักษ์
Evidence Based Medicine |
1 (1-0-2) |
พศตจ 5003
PSDM5003 |
สถิติที่จำเป็นสำหรับการวิจัยทางการแพทย์
Essential Statistics for Medical Research |
2 (2-0-4) |
พศตจ 5004
PSDM5004 |
เทคโนโลยีและสมรรถนะดิจิตัล
Digital Technology and Digital Literacy |
1 (1-0-2) |
พศตจ 5005
PSDM5005 |
วิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานทางตจวิทยา
Basic Medical Science in Dermatology |
2 (2-0-4) |
พศตจ 5101
PSDM 5101 |
ตจวิทยาทั่วไป 1
General Dermatology 1 |
1 (1-0-2) |
พศตจ 5103
PSDM 5103 |
ตจวิทยาเวชปฏิบัติ 1
Practical Dermatology 1 |
1 (0-3-6) |
รวม | 10 |
รหัสรายวิชา | ชื่อรายวิชา | จำนวนหน่วยกิต (ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ค้นคว้า) |
พศตจ 5102
PSDM 5102 |
ตจวิทยาทั่วไป 2
General Dermatology 2 |
1 (1-0-2) |
พศตจ 5104
PSDM 5104 |
ตจวิทยาเวชปฏิบัติ 2
Practical Dermatology 2 |
2 (0-6-12) |
พศตจ 5105
PSDM 5105 |
ตจพยาธิวิทยา
Dermatopathology |
1 (1-0-2) |
พศตจ 5106
PSDM 5106 |
ตจวิทยาเขตร้อนและสุขภาพหนึ่งเดียว
Tropical Dermatology and One Health |
1 (1-0-2) |
พศตจ 5006
PSDM5006 |
เทคนิคระดับโมเลกุลและจีโนม
Molecular and Genomic Techniques |
1 (0-3-6) |
พศตจ 5007
PSDM 5007 |
สัมมนางานวิจัยทางตจวิทยา
Research Seminar in Dermatology |
1 (0-3-6) |
หมวดวิชาเลือก | 3 | |
รวม | 10 |
รหัสรายวิชา | ชื่อรายวิชา | จำนวนหน่วยกิต (ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ค้นคว้า) |
พศตจ 6201
PSDM 6201 |
วิทยาภูมิคุ้มกันและมะเร็งวิทยาด้านผิวหนัง
Dermato-immunology and Dermato-oncology |
1 (1-0-2) |
พศตจ 6202
PSDM 6202 |
นวัตกรรมการแพทย์ผิวหนัง
Innovation in Dermatology |
1 (0-3-6) |
พศตจ 6203
PSDM 6203 |
การแพทย์แม่นยำและปัญญาประดิษฐ์
Precision Medicine and AI |
1 (1-0-2) |
พศตจ 6204
PSDM 6204 |
ความผิดปกติทางผิวหนังในผู้สูงอายุ
Skin Disorders in the Elderly |
1 (0-3-6) |
หมวดวิชาเลือก | 3 | |
พศตจ 6901
PSDM 6901 |
วิทยานิพนธ์
Thesis |
3 (0-9-0) |
รวม | 10 |
รหัสรายวิชา | ชื่อรายวิชา | จำนวนหน่วยกิต (ทฤษฎี-ปฏิบัติ-ค้นคว้า) |
พศตจ 6901
PSDM 6901 |
วิทยานิพนธ์
Thesis |
9 (0-27-0) |
รวม | 9 |
ภาคการศึกษาที่ 1 เดือนสิงหาคม-ธันวาคม
ภาคการศึกษาที่ 2 เดือนมกราคม-มิถุนายน
ภาคบรรยาย วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08.00 – 16.00 น.
ภาคปฏิบัติ วันจันทร์ – วันอาทิตย์ เวลา 07.00 – 17.00 น.
(บางชั้นเรียนและบางกิจกรรมอาจจัดขึ้นนอกเวลาข้างต้นและอาจจัดขึ้นในช่วงวันหยุดราชการ)
- วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน
- โรงพยาบาลจุฬาภรณ์
- สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
- ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ
มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ก่อนสำเร็จการศึกษา Click
นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ทุกคน ต้องสอบผ่านการทดสอบเพื่อประเมินความรู้ ความสามารถ และทักษะภาษาอังกฤษ ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ก่อนสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ดังต่อไปนี้
1. TOEFL | |
1.1 Paper-based | ที่ระดับคะแนนตั้งแต่ 500 คะแนนขึ้นไป |
1.2 Computer-based | ที่ระดับคะแนนตั้งแต่ 173 คะแนนขึ้นไป |
1.3 Internet-based | ที่ระดับคะแนนตั้งแต่ 64 คะแนนขึ้นไป หรือ |
2. IELTS | ที่ระดับคะแนนตั้งแต่ 5.0 คะแนนขึ้นไป หรือ |
3. CU-TEP | ที่ระดับคะแนนตั้งแต่ 60 คะแนนขึ้นไป หรือ |
4. MU GRAD TEST | ที่ระดับคะแนนตั้งแต่ 60 คะแนนขึ้นไป หรือ |
5. TU-GET | ที่ระดับคะแนนตั้งแต่ 550 คะแนนขึ้นไป หรือ |
6. KU-EPT | ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 |
7. Common European Framework of Reference for Languages (CEFR) |
ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำที่ระดับ B2 |

อาจารย์ประจำหลักสูตร และอาจารย์ผู้สอน
![]() อาจารย์นายแพทย์ ดร. ฤทธี สมิทธิ์ฤทธีอาจารย์ประจำหลักสูตร และอาจารย์ผู้สอน |
![]() อาจารย์นายแพทย์ รัศม์ฐวัฒน์ ดีสมโชค อาจารย์ประจำหลักสูตร และอาจารย์ผู้สอน |
![]() ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิริยะ มหิกุล อาจารย์ประจำหลักสูตร และอาจารย์ผู้สอน |
![]() ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญมณี ฉัตรศิริศุภชัย อาจารย์ประจำหลักสูตร และอาจารย์ผู้สอน |
![]() อาจารย์ ดร.อรวรรณ ทรัพย์ปราโมทย์อาจารย์ผู้สอน |
![]() อาจารย์ ดร.กมลวรรณ สูนย์กลางอาจารย์ผู้สอน |
![]() อาจารย์ ดร.พัชราภรณ์ วงศ์ชาดากุล อาจารย์ผู้สอน |
![]() อาจารย์ ดร.ทศพร เฟื่องรอดอาจารย์ผู้สอน |
![]() อาจารย์ ดร.ปณิธิ อัจฉราฤทธิ์อาจารย์ผู้สอน |
จำนวนรับเข้าศึกษา 5 คน
คุณสมบัติ
– เป็นผู้สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาที่ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) และแพทยสภารับรองและผ่านการเพิ่มพูนทักษะมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑ ปี
– มีค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ไม่ต่ำกว่า ๒.๕ หรือเทียบเท่า
– มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม
– ผู้เข้าศึกษาต้องมีผลคะแนนการทดสอบภาษาอังกฤษ
ประกาศรับสมัครบุคคลเข้าศึกษา หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาตจวิทยา ปีการศึกษา 2568 Click
ติดต่อ
โทร 02-576-6600 ต่อ 8485
อีเมล [email protected]
Facebook Dermatology Pscm-cra
ประชาสัมพันธ์และข่าวสาร
ประกาศ
ข่าวสารและกิจกรรม
-
ภาพบรรยากาศ “โครงการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาตจวิทยา วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ประจำปีการศึกษา 2565” Gallery
ภาพบรรยากาศ “โครงการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาตจวิทยา วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ประจำปีการศึกษา 2565”
-
ประกาศวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน เรื่อง รายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาตจวิทยา วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ รอบที่ ๒ ประจำ ปีการศึกษา ๒๕๖๕ Gallery
ประกาศวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน เรื่อง รายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาตจวิทยา วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ รอบที่ ๒ ประจำ ปีการศึกษา ๒๕๖๕
-
คณะกรรมการบริหารหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาตจวิทยา วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ร่วมหารือ กับนักวิจัยของสถาบันนาโนเทคโนโลยี ในวันที่ 28 มิถุนายน 2565 ณ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ Gallery
คณะกรรมการบริหารหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาตจวิทยา วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ร่วมหารือ กับนักวิจัยของสถาบันนาโนเทคโนโลยี ในวันที่ 28 มิถุนายน 2565 ณ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ
ติดต่อสอบถาม
เบอร์โทรติดต่อ: 02-576-6600 ต่อ 8485
Email: [email protected]