New- เกี่ยวกับหลักสูตร HDS 2023-09-05T15:00:28+07:00

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพ

เกี่ยวกับหลักสูตร

ภายใต้ความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เปิดหลักสูตรใหม่ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพ (Health Data Science) ระดับปริญญาตรี ในปีการศึกษา 2561 เป็นแห่งแรกในประเทศไทยและในระดับอาเซียน ตอบโจทย์การขยายตัวอย่างรวดเร็วของข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ และรองรับความต้องการนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล ซึ่งเป็นสาขาใหม่และมีความสำคัญต่อการรองรับการผลิตข้อมูลจำนวนมหาศาลในทุก ๆ วัน ทั้งจากข้อมูลประวัติการรักษา ข้อมูลการใช้ยา ข้อมูลการวิจัย ตลอดจนแอพพลิเคชั่นเกี่ยวกับสุขภาพต่าง ๆ เพื่อพัฒนาบุคลากรไปสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพ (Health Data Science) มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถ เพื่อเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาระบบสาธารณสุขและการแพทย์ของประเทศไทย โดยใช้องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ข้อมูล ซึ่งเป็นสาขาวิชาใหม่ที่ไม่เคยมีการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีมาก่อน ดังนั้น บัณฑิตของหลักสูตรฯ จึงเป็นที่ต้องการอย่างมากจากองค์กรในภาคส่วนต่าง ๆ โดยเมื่อจบการศึกษาออกไป บัณฑิตสามารถปฏิบัติงานเป็นนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลภายในโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน หน่วยงานรัฐบาล เช่น กระทรวงสาธารณสุข หรือบริษัทที่เกี่ยวกับสุขภาพ เช่น บริษัทประกันชีวิต และสถาบันวิจัยต่าง ๆ นอกจากนี้ บัณฑิตยังสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ต่อยอดกับการทำงานในภาคส่วนธุรกิจได้ และหากบัณฑิตต้องการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา บัณฑิตสามารถเลือกเรียนในสาขาที่เกี่ยวข้องกับทางการแพทย์ เช่น แพทย์ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ระดับโมเลกุล นักวิชาการสาธารณสุข หรือด้านวิศวกรรมศาสตร์ สาขาคอมพิวเตอร์ คณิตศาสตร์ประกันภัย ฯลฯ โดยทั้งสองสถาบันมุ่งหวังให้บัณฑิตของหลักสูตรฯ ออกไปเป็นบุคลากรที่มีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ และประมวลผลข้อมูลสุขภาพจากแหล่งต่าง ๆ ตลอดจนนำมาใช้แก้ปัญหาทางการแพทย์และการสาธารณสุขได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว มีระเบียบแบบแผน รวมทั้งเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต

วิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) คือศาสตร์ที่เกิดจากการหลอมรวมศาสตร์ทางความน่าจะเป็น (probability) สถิติ (Statistic) คณิตศาสตร์ (Mathematics) และการเขียนโปรแกรม (Programming) เข้าด้วยกันเพื่อหาข้อมูลเชิงลึกของกลุ่มข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาในอดีตเพื่อนำไปต่อยอดเพื่อแก้ปัญหาต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต หรือ ทำนายสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น การทำนายราคาบ้านในแต่ละพื้นที่ หรือ การสร้างโปรแกรมให้คอมพิวเตอร์สมารถจดจำใบหน้าของคนแต่ละคนได้

วิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพ (Health Data Science) เป็นศาสตร์สาขาย่อยของวิทยาศาสตร์ข้อมูลซึ่งมีการแตกสาขาย่อยออกไปมากมายทั้งในด้านอุตสาหกรรม การเกษตร ธุรกิจ และสังคม โดยศาสตร์ในด้านสุขภาพนี้จะมีการเพิ่มเสริมเพิ่มเติมความรู้ไปในด้านสุขภาพต่าง ๆ เช่น โรคและการระบาด (Disease) กายวิภาคศาสตร์และระบบร่างกาย(Anatomy and Body System) และ ระบบบริการสุขภาพ (Healthcare System) เป็นต้น ความรู้เหล่านี้จะทำให้สามารถเข้าใจข้อมูลในแขนงของสุขภาพนี้และนำไปวิเคราะห์ต่อยอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ



หลักสูตรและการศึกษา

ระยะเวลา

4 ปี

ความร่วมมือกับสถาบันอื่น

เป็นหลักสูตรร่วมระหว่างวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

การออกใบปริญญาบัตรจะกระทำร่วมกันโดยทั้งราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ปรัชญาของหลักสูตร

เรียนรู้ผ่านการลงมือทำ

ความสำคัญของหลักสูตร

วิทยาศาสตร์ข้อมูลมีบทบาทโดยตรงต่อการออกแบบ พัฒนา และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลสุขภาพบุคคล อันเป็นรากฐานสำคัญของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพและสุขภาพของประชาชน

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

          1. เพื่อผลิตบัณฑิตวิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพที่มีความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูลที่ดี สามารถแก้ปัญหาทางการแพทย์และสาธารณสุข

2. เพื่อผลิตบัณฑิตวิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพที่มีความสามารถในการสื่อสาร ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรียนรู้ตลอดชีวิต

3. เพื่อปลูกฝังนักศึกษาให้มีจิตสำนึกในการปฏิบัติงานโดยยึดหลักจริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพ

  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)
  • วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
เข้าสู่ระบบรับสมัคร


ประกาศ เรื่อง
การรับสมัครบุคคลเข้าศึกษา หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพ (หลักสูตรความร่วมมือกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี) ประจำปีการศึกษา 2566 (แก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ 3)

หลักสูตรเปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ ตามรูปแบบและช่วงเวลาของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย โดยมีเกณฑ์การคัดเลือก ดังนี้

รอบการรับ รูปแบบการรับ เกณฑ์การรับสมัคร
1 Portfolio – คะแนนเฉลี่ยสะสม (GPAX) มากกว่าหรือเท่ากับ 3.00
– คะแนนเฉลี่ยสะสมในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ มากกว่าหรือเท่ากับ 3.00
– มีผลงานทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ข้อมูล หรือวิทยาศาสตร์สุขภาพ
– Portfolio
– เรียงความแสดงความสนใจในวิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพ
2 Quota – นักเรียนโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ-ราชวิทยาลัย หรือโรงเรียนดรุณสิกขาลัย
– คะแนนเฉลี่ยสะสม (GPAX) มากกว่าหรือเท่ากับ 3.00
– คะแนนเฉลี่ยสะสมในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ มากกว่าหรือเท่ากับ 3.00
– ผลคะแนน GAT PAT1 และ PAT2
3 Admission 1 – คะแนนเฉลี่ยสะสม (GPAX) มากกว่าหรือเท่ากับ 3.00
– คะแนนเฉลี่ยสะสมในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ มากกว่าหรือเท่ากับ 3.00
– ผลคะแนน GAT PAT1 และ PAT2
4 Admission 2 – ผลคะแนน GPAX (คิดเป็น 20%)
– ผลคะแนน ONET (คิดเป็น 30%)
– ผลคะแนน GAT (คิดเป็น 10%)
– ผลคะแนน PAT1 (คิดเป็น 20%)
– ผลคะแนน PAT2 (คิดเป็น 20%)
หมายเหตุ การรับสมัครของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพ อยู่ในกลุ่ม ที่ 2.2 เทคโนโลยีสารสนเทศ องค์ประกอบการรับในรอบนี้เป็นไปตามที่ ทปอ. กำหนด
5 Direct admission – คะแนนเฉลี่ยสะสม (GPAX) มากกว่าหรือเท่ากับ 3.00
– คะแนนเฉลี่ยสะสมในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ มากกว่าหรือเท่ากับ 3.00
– Portfolio
– เรียงความแสดงความสนใจในวิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพ
– ผลคะแนน GAT PAT1 และ PAT2
หมายเหตุ การรับสมัครในรอบนี้อาจจะไม่ได้เปิดรับทุกปี

ทั้งนี้ ผู้สมัครสามารถติดตามข่าวสารการรับสมัครของหลักสูตรได้จาก Facebook page ของหลักสูตร (ไปที่ page )

เข้าสู่ระบบรับสมัคร


ทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2566 คลิ๊ก

ประชาสัมพันธ์และข่าวสาร

โครงการดูงานโรงพยาบาล ปี 2561

July 2nd, 2020|

ติดต่อสอบถาม

เบอร์โทรติดต่อ: 02 576 6600 ต่อ 8487

Email: [email protected]