หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพดิจิทัล
(หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2565)
หลักสูตรและการศึกษา
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพดิจิทัล วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้ถูกพัฒนาขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล (Digital Transformation) ในระบบบริการสุขภาพ ทำให้เกิดเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ที่มีอิทธิพลต่อระบบการแพทย์และสาธารณสุข อาทิเช่น การนำระบบจัดเก็บและบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Analytics) มาใช้ร่วมกับการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) และปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) ในการจัดการข้อมูลเชิงเวชสารสนเทศ (Medical Informatics) ซึ่งสิ่งใหม่ ๆ เหล่านี้ จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเพิ่มผลลัพธ์ด้านสุขภาพ ทั้งการปรับปรุงการวินิจฉัยทางการแพทย์ให้ดียิ่งขึ้น การรักษาโดยใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ รวมถึงการนำข้อมูลมาใช้ในการดูแลผู้ป่วย เป็นต้น
หลักสูตรฯ นี้ได้ถูกพัฒนาบนพื้นฐานวิสัยทัศน์ของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ที่มุ่ง “สร้างสุขภาวะที่ดีและเท่าเทียมเพื่อทุกชีวิต ด้วยวิทยาการขั้นสูง นวัตกรรมและความเป็นเลิศ” และวิสัยทัศน์ของวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒนที่ต้องการเป็น “ผู้ให้ ผู้พัฒนา ผู้รักษาแห่งอนาคต” ซึ่งหลักสูตรฯ มีความตั้งใจในการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาระบบบริการและระบบบริหารจัดการสุขภาพ โดยเชื่อมโยงกับองค์ความรู้ทางด้านสุขภาพดิจิทัลและเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อให้เกิดการพัฒนาระบบสุขภาพอย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืน ผ่านการเรียนการสอนในรูปแบบ Blended Learning ที่ประกอบไปด้วย Online Learning และ Face-to-Face Learning
ประกาศ เรื่อง ปฏิทินการศึกษาระดับชั้นบัณฑิตศึกษา ประจำปีการศึกษา 2568 Click
ปรัชญาของหลักสูตร
สร้างผู้นำด้านสุขภาพดิจิทัลที่สามารถประยุกต์องค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ เพื่อยกระดับการบริการสุขภาพสู่อนาคต มีทักษะการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหา และสร้างสรรค์งานวิจัยหรือนวัตกรรม บนพื้นฐานของเทคโนโลยีดิจิทัลและข้อมูลสุขภาพ
รูปแบบของหลักสูตร
หลักสูตรระดับปริญญาโท แผน ก แบบ ก 2 ระยะเวลาการศึกษา 2 ปี
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (PLOs)
-
PLO 1: อธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบให้เห็นภาพขององค์ความรู้ทางด้านสุขภาพดิจิทัลที่ทันกับยุคสมัยการแพทย์ในปัจจุบัน
-
PLO 2: พัฒนาหรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบบริการสุขภาพ โดยใช้องค์ความรู้ทางด้านสุขภาพดิจิทัล
-
PLO 3: วิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อนำเสนอข้อมูลในรูปแบบที่เข้าใจง่ายให้กับสหสาขาวิชาชีพ
-
PLO 4: บริหารจัดการการเรียนรู้และโครงการวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์อย่างมีประสิทธิผล
-
PLO 5: ทำงานร่วมกันในสหสาขาวิชาชีพโดยคำนึงถึงจริยธรรมและสังคม
รายละเอียดของหลักสูตร (มคอ.2)
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพดิจิทัล (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. ๒๕๖๕) Click
คู่มือนักศึกษา
คู่มือนักศึกษา
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพดิจิทัล ประจำปีการศึกษา 2567หมวดวิชา | หน่วยกิต |
|
9 |
|
12 |
|
3 |
วิทยานิพนธ์ |
12 |
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร (ไม่น้อยกว่า) |
36 |
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชวิน จองวรรณศิริ D.Eng. (Systems Engineering) : ประธานหลักสูตร
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ธนพล ชอบเป็นไทย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง (มะเร็งกระดูกและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน)
- ดร.กมลวรรณ สูนย์กลาง ปร.ด. (ระบาดวิทยาคลินิก)
- ดร.วเรศ จันทร์เจริญ PhD (Information Science)
- ดร.ทศพร เฟื่องรอด PhD (Electrical Engineering)
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิริยะ มหิกุล ปร.ด. (อายุรศาสตร์เขตร้อน)
- รองศาสตราจารย์ ดร. แพทย์หญิงกัญชนา ง้าวสุวรรณ PhD (Clinical medicine research)
- ดร.พสิษฐ์ จารุทัสนางกูร ปร.ด. (วิศวกรรมศาสตร์)
- ดร.ปณิธิ อัจฉราฤทธิ์ PhD (Information and Communication Engineering)
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
-
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า จากสถาบันอุดมศึกษาที่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) หรือหน่วยงานที่ทำหน้าที่รับรองวิทยฐานะที่มีอำนาจตามกฎหมายรับรอง ในสาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพ วิทยาศาสตร์ชีวสถิติ วิศวกรรมชีวการแพทย์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ อาทิเช่น แพทยศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ เทคนิคการแพทย์ สาธารณสุขศาสตร์ หรือสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือมีคุณสมบัติอื่นตามที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรกำหนด
- ผ่านการสอบคัดเลือกตามเกณฑ์ของวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
-
- มีผลการเรียนในระดับคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า ๓.๐๐ พร้อมทั้งเสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย
- ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือระดับนานาชาติ หรือนำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceedings)
- นักศึกษาจะต้องผ่านเกณฑ์การทดสอบภาษาอังกฤษ ตามเกณฑ์มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๒ Click
- และอื่น ๆ เป็นไปตามข้อบังคับราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ว่าด้วย การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๓
มาตรฐานความรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ก่อนสำเร็จการศึกษา Click
นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ทุกคน ต้องสอบผ่านการทดสอบเพื่อประเมินความรู้ ความสามารถ และทักษะภาษาอังกฤษ ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ก่อนสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ดังต่อไปนี้
1. TOEFL | |
1.1 Paper-based | ที่ระดับคะแนนตั้งแต่ 500 คะแนนขึ้นไป |
1.2 Computer-based | ที่ระดับคะแนนตั้งแต่ 173 คะแนนขึ้นไป |
1.3 Internet-based | ที่ระดับคะแนนตั้งแต่ 64 คะแนนขึ้นไป หรือ |
2. IELTS | ที่ระดับคะแนนตั้งแต่ 5.0 คะแนนขึ้นไป หรือ |
3. CU-TEP | ที่ระดับคะแนนตั้งแต่ 60 คะแนนขึ้นไป หรือ |
4. MU GRAD TEST | ที่ระดับคะแนนตั้งแต่ 60 คะแนนขึ้นไป หรือ |
5. TU-GET | ที่ระดับคะแนนตั้งแต่ 550 คะแนนขึ้นไป หรือ |
6. KU-EPT | ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 |
7. Common European Framework of Reference for Languages (CEFR) |
ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำที่ระดับ B2 |
1. ค่าเล่าเรียน ประกอบด้วย | |
1.1 บรรยาย/ทฤษฎี/สัมมนา | 2,000 บาท/หน่วยกิต |
1.2 ปฏิบัติการ | 3,000 บาท/หน่วยกิต |
1.3 วิทยานิพนธ์ | 4,000 บาท/หน่วยกิต |
2. ค่าบำรุงการศึกษา | |
2.1 ค่าบำรุงการศึกษา | 10,000 บาท/ภาคการศึกษา |
2.2 ค่าบำรุงห้องสมุด | 500 บาท/ภาคการศึกษา |
2.3 ค่าบำรุงกิจกรรมเสริมหลักสูตร | 2,500 บาท/ภาคการศึกษา |
2.4 ค่าบำรุงกิจกรรมนักศึกษา | 500 บาท/ภาคการศึกษา |
2.5 ค่าบำรุงอินเตอร์เน็ต | 500 บาท/ภาคการศึกษา |
2.6 ค่าประกันอุบัติเหตุ | 500 บาท/ภาคการศึกษา |
2.7 ค่าบริการสุขภาพ | 1,000 บาท/ภาคการศึกษา |
3. ค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าปรับ | |
3.1 ค่าธรรมเนียมขึ้นทะเบียนนักศึกษาแรกเข้า | 2,500 บาท |
3.2 ค่าทำบัตรประจำตัวนักศึกษา | 300 บาท |
3.3 ค่าประกันของเสียหาย (คืนให้เมื่อสำเร็จการศึกษาหรือพ้นสภาพการเป็นนักศึกษา) | 2,000 บาท |
3.4 ค่ารักษาสภาพนักศึกษา | 5,000 บาท/ภาคการศึกษา |
หมายเหตุ: ค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าปรับอื่น ๆ เป็นไปตามประกาศราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เรื่อง อัตราค่าเล่าเรียน ค่าบำรุง และค่าธรรมเนียม ระดับบัณฑิตศึกษา
จำนวนรับเข้าศึกษา 15 คน
ประชาสัมพันธ์และข่าวสาร
-
ประกาศราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เรื่อง รายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสุขภาพดิจิทัล วิทยาลัยเเพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ รอบที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2566 Gallery
ประกาศราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เรื่อง รายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษา หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสุขภาพดิจิทัล วิทยาลัยเเพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ รอบที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2566
-
ประกาศ เรื่อง การขึ้นทะเบียนของนักศึกษาใหม่ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพดิจิทัล วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ รอบที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2566 Gallery
ประกาศ เรื่อง การขึ้นทะเบียนของนักศึกษาใหม่ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพดิจิทัล วิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ รอบที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2566