ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ลงนาม MOU ร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ขับเคลื่อนเทคโนโลยีดิจิทัลต่อยอดนวัตกรรมทางการแพทย์ ตอบโจทย์ยุค 4.0 และจัดประชุมวิชาการในหัวข้อ “Digital Revolution and Transformation of Healthcare”

……….วันพุธที่ 18 ธันวาคม 2562 ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ลงนาม MOU ร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ขับเคลื่อนเทคโนโลยีดิจิทัลต่อยอดนวัตกรรมทางการแพทย์ ตอบโจทย์ยุค 4.0 และจัดประชุมวิชาการในหัวข้อ “Digital Revolution and Transformation of Healthcare” โดยศาตราจารย์ นายแพทย์นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พร้อมด้วย นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมวิชาการ “Digital Revolution and Transformation of Healthcare” โดยมีศาสตราจารย์ดร.แพทย์หญิงจิรายุ เอื้อวรากุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข กับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยนางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และ นางวรรณพร เทพหัสดิน ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่วมลงนาม ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นความร่วมมือระหว่าง 2 สถาบัน ในการพัฒนาและดำเนินโครงการวิจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้าน Data Science และ Digital Technology ที่เกี่ยวกับสุขภาพและการแพทย์ และรวมทั้งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมจะได้ให้การสนับสนุนด้านการฝึกงานและการปฏิบัติงานวิจัยของนักศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ตลอดจนความร่วมมือในด้านการบริการวิชาการด้านการแพทย์ และการสาธารณสุขไทย

……….สำหรับกิจกรรมการประชุมวิชาการ จัดขึ้นในหัวข้อ “Digital Revolution and Transformation of Healthcare” มุ่งเน้นการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพและเทคโนโลยีดิจิทัลในการต่อยอดพัฒนา และสร้างสรรค์งานวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์ ซึ่งเปิดรับให้นักศึกษาระดับปริญญาตรีส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดประเภทแนวคิด​ (Conceptual Design) เพื่อชิงเงินรางวัล​พร้อมประกาศนียบัตร โดยมีนักศึกษาสนใจส่งผลงานเข้าประกวด​ประมาณ 60 คน คัดเลือกผ่านเข้ารอบ 18 คน และมีการแข่งขัน 3-minute oral presentation กันอย่างเข้มข้น

……….ภายในงานการประชุมวิชาการดังกล่าว ได้รับเกียรติการบรรยายในหัวข้อดังนี้

    1. Data Privacy และ Cyber Security กับการแพทย์ โดยนางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
    2. Artificial Intelligent (AI) กับการแพทย์ โดยรองศาสตราจารย์ ดร.ธีรณี อจลากุล ผู้อำนวยการ Government Big Data Institute กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
    3. Digital transformation: Is it a myth? โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ (พิเศษ) นพ.พลวรรธน์ วิทูรกลชิต ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักปลัดกระทรวง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
    4. AI & Machine learning in Healthcare โดยศาสตราจารย์ ดร.บุญเจริญ ศิริเนาวกุล ที่ปรึกษาอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
    5. Personalized Healthcare: towards massive health data generation โดยอาจารย์ ดร.ศศิธร โชติวุฒิมนตรี อาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข

……….ทั้งนี้ การพิจารณาผลงานเข้าร่วมการประกวดของนักศึกษานั้นได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์ดร.แพทย์หญิงจิรายุ เอื้อวรากุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข, ผู้ช่วยศาสตราจารย์สนั่น สระแก้ว อาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และอาจารย์ ดร.วัชราภรณ์  ตันโชติศรีนนท์ อาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข เป็นกรรมการตัดสิน ซึ่งผลสรุปรางวัลการประกวด มีดังนี้

รางวัลชนะเลิศ อันดับ 1

ชื่อผลงาน เครื่องพิมพ์ 3 มิติในการสร้างอวัยวะใหม่โดยการใช้อนุภาคทองคำนาโนเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจวัดทางชีวภาพ โดยนางสาวศุภาพิชญ์ วงศ์เหลืองอ่อน จากมหาวิทยาลัยมหิดล คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ ชั้นปี 2

รางวัลอันดับที่ 2

ชื่อผลงาน Vacuum ระบบแชทช่วยเหลือฉุกเฉิน โดย นายณฐนนท์ เทพตะขบ จาก ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ คณะแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพ ชั้นปี 2

รางวัลอันดับที่ 3

ชื่อผลงาน แพลตฟอร์มรักษาผู้ติดเชื้อดื้อยาด้วยแบคเทอริโอเฟจโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ (A Bacteriophage Therapy Platforms using Artificial Intelligence) โดย นางสาวพัชรี  เพ็งรุ่ง จาก มหาวิทยาลัยรังสิต วิทยาลัยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ชั้นปี 1

รางวัลชมเชย

    1. ชุดดัดกระดูกสันหลังและบริหารกล้ามเนื้อหลังโดยอัตโนมัติ เพื่อลดการคดของผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังคดที่กระดูกสันหลังสามารถดัดได้และจัดเก็บข้อมูลมาวิเคราะห์ผลทางการแพทย์อย่างต่อเนื่องโดย นางสาวกัญจน์ชยาภรณ์ แซ่จุง จาก ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ คณะแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพ ชั้นปี 1
    2. ชุดอุปกรณ์เพื่อการทดสอบการนอนด้วยปัญญาประดิษฐ์โดย นายพีรวิชญ์ อามาตรมนตรี จาก ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ คณะแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพ ชั้นปี 2
    3. เอ็นซีดี๋ดี แอพพลิเคชั่นโดย นายกมลนพ สหสุนทร จาก มหาวิทยาลัยรังสิต วิทยาลัยแพทยศาสตร์ สาขาแพทยศาสตรบัณฑิต ชั้นปี 6
    4. ไม้เท้าอินเทรนด์ (Sense eye) โดยนางสาวกาลัญญุตา บันยี จาก มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี คณะโลจิสติกส์และซัพพลายเซน สาขาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน ชั้นปี 4
    5. การพัฒนาแบบจำลองทางเภสัชจลนศาสตร์เชิงสรีรวิทยาของสารแคนนาบิไดอัลในหนูขาวเล็ก หนูขาวใหญ่ สุนัข และมนุษย์โดย นางสาวมัณฑนา วิจิตขะจี จาก มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะเภสัชศาสตร์ สาขาเภสัชศาสตร์ ชั้นปี 5
    6. เสียงของเตียง (B collect) โดยนางสาวธนพร แพงศรี จาก ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ คณะแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพ ชั้นปี 1
    7. ความหวังของโรคซึมเศร้า (Hope Depression) โดยนางสาวอารียา ค้ำชู มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี ชั้นปี 3

ขอแสดงความยินดีกับน้องๆ นักศึกษาจากทุกมหาวิทยาลัยที่ได้รับรางวัลทุกท่าน ที่สามารถนำเสนอ concept ใหม่ๆ ด้านนวัตกรรมการแพทย์ได้อย่างดี และขอขอบคุณทุกท่านมาร่วมงาน ณ ที่นี้ด้วย

2020-04-20T09:59:06+07:00